ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Engineering-to-Order) เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสามารถผลิตได้ถึงขนาด 333 MVA 525 kV รวมถึงการให้บริการติดตั้ง ซ่อมบำรุง และทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า การผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า
9M66 | 9M65 | 2565 | 2564 |
---|
รายได้ | 1,386.43 | 1,273.86 | 1,719.57 | 2,044.43 |
ค่าใช้จ่าย | 1,282.64 | 1,360.60 | 1,779.67 | 1,902.63 |
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ | 36.36 | -100.37 | -92.09 | 72.63 |
สินทรัพย์ | 3,225.95 | 2,801.65 | 2,825.95 | 2,811.23 |
หนี้สิน | 2,205.08 | 1,822.73 | 1,839.13 | 1,692.54 |
ส่วนผู้ถือหุ้น | 1,052.44 | 1,007.79 | 1,016.08 | 1,145.12 |
กิจกรรมดำเนินงาน | -346.31 | -136.48 | -27.36 | 489.23 |
กิจกรรมลงทุน | -43.67 | -74.80 | -111.46 | -23.39 |
กิจกรรมจัดหาเงิน | 183.81 | 85.46 | 145.66 | -494.30 |
กำไรต่อหุ้น (บาท) | 0.12 | -0.33 | -0.30 | 0.24 |
อัตรากำไรขั้นต้น (%) | 23.79 | 10.95 | 11.25 | 23.15 |
อัตรากำไรสุทธิ (%) | 2.46 | -8.07 | -5.52 | 3.40 |
D/E Ratio (เท่า) | 2.16 | 1.86 | 1.86 | 1.51 |
ROE (%) | 4.33 | -8.15 | -8.52 | 6.52 |
ROA (%) | 4.33 | -2.17 | -2.17 | 4.72 |
ภายใต้ภาวะการแข่งขันที่สูงในปัจจุบัน บริษัทฯและบริษัทย่อย ประมาณการรายได้เติบโตอยู่ที่ 16%-20% โดยจะรักษาอัตรากำไรขั้นเฉลี่ยของทั้งกลุ่มอยู่ที่ 20% อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับ ภาวะเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มธุรกิจจากกลุ่ม Transformer และ กลุ่ม Non-Transformer มาเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้า Power Related Business และกลุ่มธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฟฟ้า Non-Power Related Business รวมถึงกลุ่มธุรกิจใหม่ New Business โดยมีกรอบระยะเวลา 10 ปี (2561-2571) แบ่งเป็นแผนระยะสั้น 1-3 ปี ระยะกลาง 3-5 ปี และระยะเวลา 5-10 ปี เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันบริษัทฯ ยังคงดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(COVID-19) ทำให้บริษัทฯและบริษัทย่อย ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสามารถแข่งขันในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทฯ ได้มีการเพิ่มธุรกิจสวิทช์เกียร์ เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้า ในการรองรับการขยายเมืองและนำสายไฟฟ้าลงดินในหัวเมืองใหญ่
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้าที่ครบวงจร และธุรกิจพลังงาน ด้วยการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้การสร้างสมดุล การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งบริษัทฯได้ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลทั้ง 3 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างคุณค่าตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ พัฒนานวัตกรรมและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เพื่อตอบสนองความต้องการต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างสรรค์สิ่งดีงานสู่สังคม “ถิรไทย” รับประกาศนียบัตร “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO)” แสดงเครื่องหมายมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีแนวคิดในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน โดยดำเนินทุกงานให้เป็นไปตามแผนงานของโครงการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงและแสดงให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นถึงความรับผิดชอบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ขยายศักยภาพทำให้เป็นผู้ผลิต 1 ใน 2 รายในประเทศไทยที่สามารถผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 333 MVA แรงดันไฟฟ้า 525 kV มุ่งมั่นการบริหารจัดการ ให้บริการแบบครบวงจร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทฯ ได้มีการเพิ่มธุรกิจสวิทช์เกียร์ เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้า รองรับการขยายเมืองและนำสายไฟฟ้าลงดิน
บริษัทฯและบริษัทย่อยมีผลประกอบการ สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566 ซึ่งได้รับการสอบทานจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีกำไรสุทธิสำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวน 36.36 ลบ. เพิ่มขึ้น 136.73 ลบ. เมื่อเทียบกับงวดบัญชีเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิสำหรับผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวน100.37 ลบ. ซึ่งมีรายได้จากการขาย 1,244.35 ลบ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 113.20 ลบ. คิดเป็น 10.01% เนื่องจากมีการเร่งส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รายได้จากการบริการ 126.30 ลบ. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16.21 ลบ. คิดเป็น 14.72% เนื่องจากรายได้จากงานบริการของธุรกิจรถเครนและงานบริการทั้งในและต่างประเทศของธุรกิจบริการ SMA เพิ่มขึ้น รายได้ตามสัญญาก่อสร้าง จากการดำเนินการของบริษัทย่อย 0.25 ลบ. ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 21.95 ลบ. คิดเป็น 98.89% เนื่องจากบริษัทย่อยมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์โครงสร้างหม้อแปลงไฟฟ้า กำไรขั้นต้นจากการขาย 21.75% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 8.70% เนื่องจาก บริษัทฯและบริษัทย่อยส่งมอบสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีอัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2565 เนื่องจากลูกค้าเริ่มให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณภาพมากขึ้น กำไรขั้นต้นจากการบริการ 44.09% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับ 37.52% ค่าใช้จ่ายในการขาย 47.58 ลบ. ลดลงจากปีก่อน 22.80 ลบ. คิดเป็น 32.40% และ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 163.45 ลบ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 12.39 ลบ. คิดเป็น 8.20% ต้นทุนทางการเงิน 52.28 ลบ. เพิ่มขึ้น 18.87 ลบ. คิดเป็น 56.51% เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยตามนโยบายการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย
บริษัทฯให้ความสำคัญกับการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์นวัตกรรม พัฒนาขีดความสามารถท่ามกลางสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบการควบคุมสื่อสารทางไกลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า โดยมุ่งเน้นให้ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดำเนินทุกงานให้เป็นไปตามแผนงาน แสดงเครื่องหมายมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการดำเนินงานขององค์กรที่เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้องค์กรลดมูลเหตุของแต่ละโอกาสที่จะเกิดความเสียหายให้ระดับของความเสียหายและขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้และตรวจสอบได้อย่างมีระบบ โดยคำนึงถึงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรเป็นสำคัญ ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นับเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างมาก เพื่อให้การดำเนินงานและผลประกอบการเป็นไปตามเป้าหมาย และสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจครอบคลุมมิติทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม
2566รับประกาศนียบัตรคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (CFO)
2565เป็นสมาชิกของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)
2565รับรางวัลธงขาวดาวทองโครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม
2564ผ่านการทดสอบเกณฑ์มาตรฐานการป้องกันCOVID-19 (สาธารณสุข)
2564ได้รับการรับรองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศไทย MIT
2563ได้รับรางวัล“อุตสาหกรรมดีเด่นประจำปี2563 ประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ” THE PRIME MINISTER’S INDUSTRY AWARD 2020
2561,2562,2563,2564 รางวัลธงขาวดาวเขียวธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
2560, 2562 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่4 (Green Culture)
2561, 2564 ได้รับการรับรองหม้อแปลงฉลากเขียว
2559 ได้รับรางวัล Prime Minister Award สาขา Best Exporter Award
2553 ได้รับใบอนุญาต มอก.384-2543, 2545, 2547, 2549
2552 ISO 9001, ISO 45001, ISO 14001 , ISO/IEC 17025
ณ วันที่ 29/09/66 | TRT | RESOURC | mai |
---|---|---|---|
P/E (เท่า) | - | - | 109.70 |
P/BV (เท่า) | 0.76 | 0.86 | 2.40 |
Dividend yield (%) | - | 0.93 | 1.47 |
29/09/66 | 30/12/65 | 30/12/64 | |
---|---|---|---|
Market Cap (ลบ.) | 726.90 | 868.58 | 924.02 |
ราคา (บาท/หุ้น) | 2.36 | 2.82 | 3.00 |
P/E (เท่า) | - | - | 5.88 |
P/BV (เท่า) | 0.76 | 0.86 | 0.81 |