ธนาคารไทยเครดิต จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจเป็นธนาคารพาณิชย์มากว่า 18 ปี ให้บริการด้านการเงินและการลงทุนอย่างครบวงจร โดยมุ่งเน้นการให้บริการสินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี (MSME) และสินเชื่อนาโนและไมโครเครดิตเพื่อธุรกิจรายย่อย (Nano and Micro Finance) แก่กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ แต่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมถึงให้บริการสินเชื่อบ้าน (Home Loan) และช่องทางธุรกรรมการเงินดิจิทัล (Digital Platform)
6M67 | 6M66 | 2566 | 2565 |
---|
รายได้ | 9,188.56 | 16,604.31 | 13,451.43 | |
ค่าใช้จ่าย | 7,612.94 | 12,145.40 | 10,491.59 | |
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ | 1,269.72 | 3,556.78 | 2,352.52 |
สินทรัพย์ | 175,224.33 | 163,444.33 | 143,189.47 | |
หนี้สิน | 154,549.81 | 145,939.20 | 128,807.89 | |
ส่วนผู้ถือหุ้น | 20,674.53 | 17,505.13 | 14,381.58 |
กิจกรรมดำเนินงาน | -1,555.80 | -4,286.36 | -3,999.52 | |
กิจกรรมลงทุน | -162.54 | -357.13 | 2,634.15 | |
กิจกรรมจัดหาเงิน | 1,661.41 | 4,652.85 | 1,405.04 |
กำไรต่อหุ้น (บาท) | 1.04 | 3.05 | 4.56 | |
อัตรากำไรขั้นต้น (%) | ||||
อัตรากำไรสุทธิ (%) | 13.82 | 21.42 | 17.49 | |
D/E Ratio (เท่า) | 7.48 | 8.34 | 8.96 | |
ROE (%) | 14.81 | 22.31 | 16.36 | |
ROA (%) | 3.87 | 4.58 | 3.21 |
ธนาคารไทยเครดิตมุ่งมั่นสู่การเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มลูกค้ารายย่อยด้วยรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างและสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชนคนไทยทุกภูมิภาค โดยกลยุทธ์หลักในปี 2567 ยังคงเน้นไปที่ 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การเติบโตของสินเชื่อหลัก 2) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) การพัฒนาธุรกิจใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของธนาคารในระยะยาว เพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2567 ธนาคารไทยเครดิตตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อเป็นเลขสองหลัก ส่วนต่างรายได้อัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ปรับเพิ่มขึ้นที่ 8.5-9.0% อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้คงที่ และเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (%NPLs) ที่น้อยกว่า 4.5% อย่างไรก็ตามธนาคารมีการปล่อยสินเชื่อแบบระมัดระวังมากขึ้น รวมถึงติดตามคุณภาพพอร์ตสินเชื่อและความสามารถในการชำระหนี้อย่างรอบคอบ และใช้ประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม รักษาความมั่นคงทางการเงินของธนาคารฯ และเพิ่มความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในอนาคต
ไทยเครดิตเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ยึดมั่นในวิสัยทัศน์และพันธกิจที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยให้บริการทางการเงินที่ดีที่สุด เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าเติบโตทางธุรกิจ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยบริการไมโครไฟแนนซ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของธนาคารฯ และยกระดับชีวิตทางการเงินได้อย่างยั่งยืน รวมถึงมีส่วนช่วยเหลือเศรษฐกิจและสังคม ตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจ "Everyone Matters ทุกคนคือคนสำคัญ"
1. ธนาคารฯ สานต่อ โครงการตังค์โต Know-How ปีที่ 8 โดยในไตรมาส 1H/2567 มีผู้เข้าอบรมกว่า 30,114 คน และจัดอบรมไปแล้วกว่า 885 ครั้ง ผ่านศูนย์การเรียนรู้ ระบบออนไลน์และการจัดอบรมนอกสถานที่
2. ธนาคารฯ ร่วมให้ความรู้เทคนิคการตั้งเป้าหมายทางการเงินในหัวข้อเรื่อง “อายุ 60+ บริหารเงินสำหรับวัยเก๋าหลังเกษียณ“
3. ธนาคารฯ จัดเสวนา “ด้วย ‘รักษ์’ กับนักธุรกิจยุคใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เพื่อให้การสนับสนุนธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจและแบ่งปันแนวคิดในการทำธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่
สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 2Q/2567 ธนาคารฯ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 82.4% QoQ เป็น 820.1 ล้านบาท ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ปัจจัยหลักจากธนาคารฯ ยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อได้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผันผวน รวมถึงค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของเงินให้สินเชื่อชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ลดลงจากการเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เงินให้สินเชื่อโดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในไตรมาส 2Q/2567 นอกจากนี้ธนาคารฯ ยังมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพโดยมีอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานของธนาคารฯ ที่อยู่ในระดับต่ำที่ 38.3% ในไตรมาส 2Q/2567
ทั้งนี้อัตราส่วนต่างอัตรารายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 2Q/2567 ยังแข็งแกร่งอยู่ที่ 8.6% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 1Q/2567 อย่างไรก็ตามธนาคารฯ ยังคงดำเนินงานอย่างรัดกุมเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารฯ ในไตรมาส 2Q/2567 เพิ่มขึ้น 4.1% จากเดิม 4,352.6 ล้านบาท ใน ไตรมาส 1Q/2567 เป็น 4,533.1 ล้านบาท ในไตรมาส 2Q/2567 โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 170.4 ล้านบาท เนื่องมาจากปริมาณเงินให้สินเชื่อที่เติบโตเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อหลักของธนาคารฯ โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์สินเชื่อธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี และสินเชื่อบ้านแลกเงิน รวมถึงรายได้ระหว่างธนาคารและตลาดเงิน และเงินลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของธนาคารฯ ในไตรมาส 2Q/2567 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 4.9% เป็น 847.9 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจากเงินรับฝากที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 34.7 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณเงินฝากที่เพิ่มมากขึ้นจากโปรแกรมส่งเสริมการขาย โดยเฉพาะโปรแกรมเงินฝากออมทรัพย์อัลฟา รวมถึงเงินฝากประจำและเงินฝากประจำทันใจ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเงินนำส่งสถาบันคุ้มครองเงินฝากและ ธปท. เพิ่มขึ้นเท่ากับ 3.8 ล้านบาท QoQ อย่างไรก็ตามธนาคารฯ มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากโปรแกรมเงินฝากประจำและเงินฝากประจำทันใจในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
การบริหารความเสี่ยงถือเป็นหัวใจสำคัญของการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนของธนาคารฯ โดยธนาคารฯ ได้มีการวางแผนการกำกับดูแลความเสี่ยงที่มุ่งเน้นการพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบบริหารความเสี่ยงในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมและครอบคลุมทุกด้านสำคัญ สอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งตอบสนองต่อความท้าทายด้านคุณภาพสินเชื่อโดยเฉพาะในสถานะการณ์ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ธนาคารฯ ไม่อาจควบคุมได้
นอกจากนี้ธนาคารฯ ได้จัดโครงสร้างองค์กรให้มีการถ่วงดุลอำนาจ และกระบวนการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงยึดหลักธรรมาภิบาลที่ดีและมีระบบการรายงานติดตามความเสี่ยง เครื่องมือจัดการ ตลอดจนกระบวนการเพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงและหน้าที่ความรับผิดชอบของตนผ่านนโยบายบริหารความเสี่ยง
ณ วันที่ 28/06/67 | CREDIT | BANK | SET |
---|---|---|---|
P/E (เท่า) | 7.07 | 6.94 | 17.05 |
P/BV (เท่า) | 1.10 | 0.59 | 1.22 |
Dividend yield (%) | - | 6.17 | 3.53 |
28/06/67 | - | - | |
---|---|---|---|
Market Cap (ลบ.) | 21,776.12 | N/A | N/A |
ราคา (บาท/หุ้น) | 17.70 | N/A | N/A |
P/E (เท่า) | 7.07 | N/A | N/A |
P/BV (เท่า) | 1.10 | N/A | N/A |